ความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆ
ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สามารถแบ่ง นวัตกรรม ออกเป็น 3 ระยะ ได้ดังนี้
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น
ระยะที่ 2 พัฒนาการ
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป
นวัตกรรม มี 2 ประเภท ได้แก่
1.นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่หมด ไม่เคยปรากฏขึ้นในที่ใดมาก่อน
2.นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน
หลักในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
1.การคัดเลือกสิ่งที่นำมาเป็นนวัตกรรมต้องมีจุดเด่นและสามารถทำงานนั้นๆได้ดีกว่าสิ่งเดิม
2.จะต้องมีการคัดเลือกว่าสิ่งที่จะนำมาใช้เป็นนวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมกับการใช้งานนั้นๆหรือไม่
3.การนำอะไรสักอย่างมาทำเป็นนวัตกรรมต้องมีการพิสูจน์จากงานวิจัยว่านวัตกรรมนั้นสามารถที่จะใช้ได้ผลจริงและได้ผลที่ดีกว่าของเดิมอย่างแน่นอน
4.จะต้องมีการพิจารณาว่าสิ่งที่จะนำมาเป็นนวัตกรรมนั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบหรือไม่
องค์ประกอบของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่
2. เน้นใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์
3. เป็นประโยชน์ ต้องตอบได้ว่าสิ่งที่เราสร้างเป็นอย่างไร
4. เป็นที่ยอมรับ
5. มีโอกาสในการพัฒนา
ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
"นวัตกรรมการศึกษา "หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษานวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา
และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
1.นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่
จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าทายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
2.ผู้ที่ทำการวิจัยต้องการพิสูจน์เพื่อให้เห็นผลว่าจะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร
3.มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา มี 5
ประเภท ได้แก่
1.นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
2.นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
3.นวัตกรรมด้านหลักสูตร
4.นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
5.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา มี 4 ประการ ดังนี้
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
2. ความพร้อม (Readiness)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ
ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่องานนั้นๆ ดีขึ้น
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่า นักเทคโนโลยี
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง
ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางศึกษา ครอบคลุม องค์ประกอบ 3 คือ วัสดุ อุปกรณ์
และวิธีการ
ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ลักษณะของเทคโนโลยี.....
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process)
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product)
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process)
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product)
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)
สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในทางการศึกษา
กระบวนการให้การศึกษาปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ พอสรุปได้ 3 ประการ
คือ……
1. การเพิ่มจำนวนประชากร เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทำให้การจัดการศึกษาไม่ทั่วถึง
1. การเพิ่มจำนวนประชากร เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทำให้การจัดการศึกษาไม่ทั่วถึง
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
เป็นปัญหาที่เนื่องมาจากการเพิ่มประชากรโดยตรง
ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยากรใหม่ ๆ
ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
สารสนเทศแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
ดังนี้
1. สารสนเทศปฐมภูมิ
คือสารสนเทศที่ได้จากต้นแหล่งโดยตรง
2. สารสนเทศทุติยภูมิ
คือ สารสนเทศที่ได้จากการรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นใหม่
3. สารสนเทศตติยภูมิ คือ
สารสนเทศที่จัดทำในลักษณะที่รวบรวมขึ้นแต่ไม่ใช่เนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับความรู้โดยตรง
ความสำคัญของสารสนเทศ
ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
คือ
1.รวบรวมข้อมูลจากภายในและภายนอกที่มีความจำเป็นต่อหน่วยงาน
2.ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์นำไปใช้งานได้
3.มีระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
4.ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้อง ทันสมัยอยู่เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น