หน่วยที่ 5 การออกแบบระบบการสอน
Instructional System Design (ISD)
ระบบการสอน หรือ ระบบการเรียนการสอน (IS : Instructional System) เป็นการนำเอาวิธีการระบบ(System Approach) หรือวิธีระบบ มาใช้ในการเรียนการสอน โดยที่ระบบจะหมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ส่วนนำเข้า (Input) ส่วนดำเนินการ (Process) และส่วนผลลัพธ์(Output) ระบบการสอนจึง ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ๆ ที่สัมพันธ์กัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล เป็นต้น องค์ประกอบย่อย ๆ ของระบบจะมีหน้าที่อย่างอิสระซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นภายในองค์ประกอบย่อย ๆก็จะส่งผลกระทบถึงระบบด้วย เช่น ถ้าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ เป็นต้น
ระบบการสอนที่ออกแบบโดยใช้วิธีการระบบ ได้มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยการกำหนดขั้นตอนการสอน ประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาศัยสื่อต่าง ๆ และการใช้แหล่งความรู้ต่าง ๆ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นต้น เพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น เพศ วัย อัตราการเรียนรู้ ความสนใจ ความถนัด และประสบการณ์เดิม รวมทั้งพื้นฐานทางประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องจะมีบทบาทในการออกแบบพัฒนาระบบการสอน เพื่อวางแผนการบูรณการเกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบการสอน ให้เหมาะสมกับพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้บรรลุความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
"รูปแบบระบบการสอน"
ระบบการสอนของเกอร์ลาซและอีลี (Gerlach and Ely)
ระบบการสอนของเกอร์ลาซและอีลี (Gerlach and Ely)
มีการแบ่งขั้นตอนออกได้เป็น 10 ขั้นตอน คือ
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives) คือการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียน
ขึ้นมาก่อนว่าควรเป็น วัตถุประสงค์เฉพาะ หรือ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและผู้สอนวัดหรือสังเกตได้
ขึ้นมาก่อนว่าควรเป็น วัตถุประสงค์เฉพาะ หรือ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและผู้สอนวัดหรือสังเกตได้
2. การกำหนดเนื้อหา (Specification of Content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุถึงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
3. การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น (Assessment of Entry Behaviors) เป็นการประเมินก่อนเรียน เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมและภูมิหลังของผู้เรียนก่อนที่จะเรียนเนื้อหานั้นๆ ว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะสอนนั้นมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางในการที่จัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
4. การกำหนดกลยุทธของวิธีการสอน (Determination of Strategy) เป็นวิธีการของผู้สอนในการใช้ความรู้ เลือกทรัพยากรและกำหนดบทบาทของผู้เรียนในการเรียน ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะเพื่อช่วยให้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนนั้น กล่าวคือ
4.1 การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์ทั้งหมด (expository approach) เป็นการสอนที่ผู้สอนป้อนความรู้ให้ผู้เรียนโดยการใช้สื่อต่าง ๆ และจากประสบการณ์ของผู้สอนโดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้ใหม่ด้วยตนเองแต่อย่างใด เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบอภิปราย
4.2 การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้หรือแบบไต่สวน (discovery or inquiry approach) ผู้สอนมี บทบาทเพียงเป็นผู้เตรียมสื่อและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเรียน เป็นการจัดสภาพการณ์ให้การเรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้โดยผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เอาเอง
4.1 การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์ทั้งหมด (expository approach) เป็นการสอนที่ผู้สอนป้อนความรู้ให้ผู้เรียนโดยการใช้สื่อต่าง ๆ และจากประสบการณ์ของผู้สอนโดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้ใหม่ด้วยตนเองแต่อย่างใด เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบอภิปราย
4.2 การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้หรือแบบไต่สวน (discovery or inquiry approach) ผู้สอนมี บทบาทเพียงเป็นผู้เตรียมสื่อและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเรียน เป็นการจัดสภาพการณ์ให้การเรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้โดยผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เอาเอง
5. การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน (Organization of Groups)เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมกับวิธีสอนและเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเหมาะสมโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เนื้อหาและวิธีการสอนด้วย
6. การกำหนดเวลาเรียน (Allocation of Time) โดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเรียน วัตถุประสงค์ สถานที่
และความสนใจของผู้เรียน
และความสนใจของผู้เรียน
7. การจัดสถานที่เรียน (Allocation of Space) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน เช่น
7.1 ห้องเรียนขนาดใหญ่ สามารถสอนได้ครั้งละ 50 - 300 คน
7.2 ห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อใช้ในการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อยหรือการจัดกลุ่มสัมมนาหรืออภิปราย
7.3 ห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำพังหรืออาจเป็นห้องศูนย์สื่อการสอนที่มีคูหาเรียนเป็นรายบุคคล
7.1 ห้องเรียนขนาดใหญ่ สามารถสอนได้ครั้งละ 50 - 300 คน
7.2 ห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อใช้ในการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อยหรือการจัดกลุ่มสัมมนาหรืออภิปราย
7.3 ห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำพังหรืออาจเป็นห้องศูนย์สื่อการสอนที่มีคูหาเรียนเป็นรายบุคคล
8. การเลือกสรรทรัพยากร (Allocation of Resource) เป็นการที่ผู้สอนเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม
กับวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน และขนาดของกลุ่มผู้เรียน เพื่อให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
8.1 สื่อบุคคลหรือของจริง
8.2 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย
8.3 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องเสียง
8.4 สื่อสิ่งพิมพ์
8.5 วัสดุที่ใช้แสดง
กับวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน และขนาดของกลุ่มผู้เรียน เพื่อให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
8.1 สื่อบุคคลหรือของจริง
8.2 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย
8.3 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องเสียง
8.4 สื่อสิ่งพิมพ์
8.5 วัสดุที่ใช้แสดง
9. การประเมินสรรถนะ (Evaluation of Preformance) เป็นการประเมินความสามารถและพฤติกรรมของผู้เรียนอันเกิดจากกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนและเป็นกระบวนการสุดท้ายของระบบการสอนที่ยึดเอาวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นหลักในการดำเนินงาน
10. การวิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับ (Analysis of Feedback) เพื่อทำให้ทราบว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุใด อันจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีลี แสดงดังภาพประกอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น