ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก
สวัสดีค่ะผู้เยี่ยมชมทุกท่าน บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2256 สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3

หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ

หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
            1.หลักการและทฤษฎี ทางจิตวิทยาการศึกษา
      -  ทฤษฎีการเรียนรู้
     
- ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
     
- ทฤษฎีพัฒนาการ
                        2. ทฤษฎีการสื่อสาร
                        3. ทฤษฎีระบบ
                       4. ทฤษฎีการเผยแพร่
                      5. การเรียนรู้ทฤษฎี ของ Bloom
                      6. ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้นของกาเย่
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
             นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
                            เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าว ไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory)
                เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (
Thorndike) ซึ่ง กล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning)
                เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์
(Skinner) กล่าว ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
แนวคิดของสกินเนอร์   สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
2.หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
                คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
 2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept)  ส่วนบุคคล 
 3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี  
 4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
 5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ 
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ 
 7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน 
 8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล 
 9.การถ่ายโยงที่ดี 
 10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น
      แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski)  ได้ สนับสนุนว่า การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัย ไว้ให้  เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวก ซึ่งหมายถึงว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน
3.ทฤษฎีการรับรู้
                เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด
จิตวิทยาการเรียนรู้
                การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม หมายถึง กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไปในลักษณะที่พึงประสงค์
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
 1.ความต้องการของผู้เรียน (Want)
 2.สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus)
 3.การตอบสนอง (Response)
 4.การได้รับรางวัล (Reward)
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
                ในกระบวนการเรียนรู้ของคน เรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
                 1.ประสบการณ์ (experiences)
                 2.ความเข้าใจ (understanding)
                 3.ความนึกคิด (thinking)
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล  (Individual Differences Theory)
หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ที่สำคัญ คือ........
    1. บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพและสภาพจิตวิทยา
    2. ความแตกต่างกันดังกล่าวนี้เป็นเพราะบุคคลเกิดการเรียนรู้
    3. บุคคลที่อยู่ต่างสภาพแวดล้อมกันจะได้รับการเรียนรู้ที่ต่างกัน
    4. การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่ต่างกันจะทำให้บุคคลมีทัศนคติ  ค่านิยม ความเชื่อถือ และบุคลิกภาพที่ต่างกัน
ทฤษฎีการสื่อสาร
             ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์
                 ทฤษฎีระบบ (System Theory)
ความหมายของระบบ
            ระบบ หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน และขึ้นต่อกัน
  โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ร่วมกันทำงานอย่างผสมผสานกัน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้
                    ประเภทของระบบ
        ระบบปิด (
Closed System) คือ ระบบที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง ไม่พยายามผูกพันกับระบบอื่นใด และแยกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม
       ระบบเปิด (Open System) คือ ระบบที่ต้องอาศัยการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์การหรือหน่วยงานอื่น ๆ
องค์ประกอบของระบบ
        สิ่งที่ป้อนเข้าไป (
Input)  หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ และองค์ประกอบแรกที่จะนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ
        กระบวนการ (
Process) หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ  
       ผลงาน (
Output)  หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา
ทฤษฎีการเผยแพร่
         ความหมายของการเผยแพร่
                การเผยแพร่  (Diffusion)  หมายถึง  กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)       
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
 1.ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
 2.ความเข้าใจ (Comprehension)
 3.การประยุกต์ (Application)
4.การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5.การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6.การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne ) 
                ทฤษฎีของกาเย่นี้จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะจัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ประกอบด้วย
1. การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6.การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase)ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว จะทำให้มีผลดี และประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ
     ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้
    สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
    การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ 
-เร้าความสนใจกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
-ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน
บอกวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
-กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
-เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
-การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
-การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด

-การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
-การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
-การนำไปใช้ กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น